บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายฉัตร์ธรรม จำกัด ( Chattham Legal Consultants Company Limited ) 0911784515 / 0624622552 / 0956242440

 

คดีภาษีอากร ได้แก่ คดีที่พิพาททางแพ่งเกี่ยวกับ

 

  • คดีอุทธรณ์คําวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร
  • คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร
  • คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร
  • คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทําขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร
  • คดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอํานาจศาลภาษีอากร (พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 7)

 

โดยในคดีภาษีอากร จะมีทั้งคดีที่ต้องมีการอุทธรณ์

และคดีที่ไม่ต้องมีการอุทธรณ์ก่อน

กรณีที่จะต้องอุทธรณ์ก่อนนั้น

จะต้องตรวจสอบการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงาน

เพื่อดูความถูกต้องของกรรมวิธีการประเมินภาษีอากร เงินเพิ่ม

และเบี้ยปรับ

รวมถึงหลักเกณฑ์ต่างๆ ทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่จะอุทธรณ์ได้

เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว

หากผู้อุทธรณ์ยังไม่พอใจในคำวินิจฉัย

ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล และยื่นฟ้องต่อศาลภายในอายุความ

แต่จะต้องเป็นกรณีที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ด้วย

 

ตัวอย่างคำพิพากษา กรณีอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8298/2557

ป.พ.พ. มาตรา 499

ป.รัษฎากร มาตรา 30, 91/2

พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25

ข้อ 2 (14)

 

          ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์การประเมิน

ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง

การประเมินปัญหาข้อเท็จจริงใดที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิหยิบยกขึ้นอุทธรณ์

ย่อมเป็นอันยุติโจทก์จะยกขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลไม่ได้

เมื่อโจทก์ไม่ได้ยกปัญหาว่าการที่เจ้าพนักงานประเมิน

กำหนดราคาขายทองรูปพรรณทั้งหมดเป็นรายได้ของโจทก์

เป็นการไม่ชอบขึ้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินในส่วนนี้ได้

แม้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ก็เป็นการไม่ชอบ

และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะอุทธรณ์ประเด็นนี้ต่อไป

          การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจะต้องอาศัยพยานหลักฐาน

ที่ปรากฏจากการไต่สวน แม้โจทก์ไม่มีบัญชีเอกสารหรือหลักฐาน

มาแสดงแต่ถ้อยคำของโจทก์เองถือเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่ง

ที่ปรากฏจากการไต่สวนซึ่งเจ้าพนักงานประเมินนำมาใช้

ในการตรวจสอบได้

การที่เจ้าพนักงานจะพิจารณาพยานหลักฐานที่ปรากฏ

จากการไต่สวนอย่างไรเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานโดยเฉพาะ

แม้เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีโจทก์

โดยอาศัยเพียงแต่ข้อมูลจากที่โจทก์ได้ให้ถ้อยคำไว้

ก็ไม่มีผลทำให้การไต่สวนเสียไป

          ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)

เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณ

มูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4)แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 2 (14)

กำหนดว่า “มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจำนวนเท่ากับ

ราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืน

ในวันที่ขายทองรูปพรรณ ทั้งนี้ เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียน

ที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณ ซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่า

ตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า” กรณีตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

ฉบับดังกล่าว เป็นการรับซื้อและขายทองรูปพรรณแก่บุคคลทั่วไป

แต่สำหรับการขายฝากทองรูปพรรณนั้น คู่สัญญาย่อมกำหนดสินไถ่

โดยเรียกประโยชน์ตอบแทนรวมไปกับราคาขายฝากที่แท้จริงได้

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 499

สินไถ่จึงขึ้นอยู่กับการตกลงกันของคู่กรณีแต่ละราย

หากผู้ขายไม่ต้องการรับภาระจ่ายประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้รับซื้อฝาก

เกินความจำเป็นที่ต้องใช้เงิน ก็ตกลงสินไถ่ต่ำกว่าราคาขายทองรูปพรรณได้

สินไถ่จึงไม่ต้องเท่ากับราคาขายทองรูปพรรณทั่วไป

ส่วนราคาที่โจทก์รับซื้อฝากก็ไม่ต้องเท่ากับราคาทองรูปพรรณ

ที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้ออีกเช่นกัน

กรณีจึงไม่อาจนำประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) มาใช้บังคับแก่การขายฝากได้

          แม้โจทก์จะมิได้รับฝากเงินเช่นธนาคาร แต่ประกอบกิจการรับซื้อลดเช็ค

เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์หลายครั้งหลายช่วงเวลา

ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์

ในการรับซื้อตั๋วเงินเป็นปกติ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ตามมาตรา 91/2 แห่ง ป.รัษฎากร

          อุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลภาษีอากรกลางในการวินิจฉัย

เรื่องเหตุอันควรลดเบี้ยปรับเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง 

เมื่อภาษีธุรกิจเฉพาะแต่ละเดือนภาษีพิพาท มีทุนทรัพย์ที่พิพาท

แต่ละเดือนภาษีไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้าม

มิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม 

พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร

พ.ศ.2528 มาตรา 25

 

เฟสบุ๊ค (Facebook Fanpage)

โนตารี (Facebook Fanpage)

บังคับคดี (Facebook Fanpage)