สาระน่ารู้เกี่ยวกับคดี (Knowledge)
Notarial Services Attorney
หนังสือ สัญญา (Contract)
ทรัพย์สินทางปัญญา (IP)
บัญชีและภาษีอากร (Accounting)
Login Form
วัน & เวลา (Date & Time Zone)
|
คดีแพ่ง ได้แก่ คดีที่บุคคลใดถูกโต้แย้งสิทธิ จึงต้องใช้สิทธิทางศาล
เช่น
- คดีเกี่ยวด้วยสิทธิและสภาพบุคคล เช่น ร้องขอให้ศาลสั่งเป็นผู้ปกครอง
- คดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน ที่ดิน เช่น ฟ้องขับไล่, ฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม
- คดีเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา เช่น ฟ้องผิดสัญญา เรียกค่าเสียหาย
- คดีเกี่ยวด้วยหนี้สิน เช่น ฟ้องคดีเงินกู้
- คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิด เช่น ฟ้องละเมิดกรณีอุบัติเหตุจากรถ
- คดีเกี่ยวกับการค้ำประกัน จำนอง จำนำ เช่น ฟ้องผิดสัญญาจำนอง
- คดีเกี่ยวกับตัวแทน นายหน้า เช่น ฟ้องเรื่องตัวการตัวแทน
- คดีเกี่ยวกับประกันภัย เช่น ฟ้องรับช่วงสิทธิ
- คดีเกี่ยวกับตั๋วเงิน เช่น ฟ้องให้รับผิดตามเช็ค (คดีแพ่ง)
- คดีเกี่ยวกับหุ้นส่วน บริษัท เช่น ฟ้องความรับผิดของนิติบุคคล
ฟ้องให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ
- คดีเกี่ยวกับมรดก เช่น ฟ้องเรียกคืนทรัพย์มรดก
เป็นต้น
รวมถึง คดีที่ไม่มีการโต้แย้งสิทธิ แต่มีความจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล
แต่ฝ่ายเดียว เช่น
- การร้องต่อศาลขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดก
- การร้องขอให้ศาลสั่งว่าเป็นบุคคลไร้ความสามารถ
- การร้องขอให้ศาลสั่งว่าเป็นผู้สาบสูญ
- การร้องขอให้ศาลสั่งว่าเป็นผู้ไม่อยู่
- การร้องขอตั้งผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล
- การร้องขอรื้อบริษัทร้าง
เป็นต้น
นอกจากนี้ การพิจารณาคดีแพ่งบางเรื่อง จะแยกพิจารณาคดี
ในศาลเฉพาะหรือศาลชำนัญพิเศษ เช่น คดีแรงงาน คดีครอบครัว
คดีล้มละลาย คดีผู้บริโภค คดีภาษีอากร และคดีทรัพย์สินทางปัญญา
เช่น คดีเงินกู้>>> ต้องฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคแทนคดีแพ่งสามัญ
เนื่องจากตามคำพิพากษาฏีกานั้น ศาลท่านเห็นว่า คดีเงินกู้
ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทน
จึงตีความเป็นผู้ประกอบธุรกิจ ต้องฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค หรือคดีผบ นั่นเอง
เช่นเดียวกับ คดีฟ้องบริษัทประกันภัย>>> บริษัทประกันภัย ก็คือ
ผู้ประกอบการ หรือผู้ประกอบธุรกิจ แน่นอนว่า
หากเราซึ่งเป็นผู้บริโภคจะฟ้องบริษัทเหล่านี้
ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมจากการละเมิด หรืออะไรก็ตามแต่
ต้องฟ้องเป็นคดีผบหรือคดีผู้บริโภค แทนคดีแพ่งสามัญ