สาระน่ารู้เกี่ยวกับคดี (Knowledge)
Notarial Services Attorney
หนังสือ สัญญา (Contract)
ทรัพย์สินทางปัญญา (IP)
บัญชีและภาษีอากร (Accounting)
Login Form
วัน & เวลา (Date & Time Zone)
|
คดีล้มละลายตามกฎหมายล้มละลายนั้น
มุ่งให้ความเป็นธรรมกับทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ คือ
ในส่วนของเจ้าหนี้ก็เพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อย่างเต็มจำนวน
ส่วนของลูกหนี้ก็เพื่อให้ลูกหนี้ได้พ้นจากการล้มละลายได้เร็วขึ้น
โดยคดีล้มละลายจะมีได้ทั้งในส่วนของคดีแพ่งและคดีอาญา
- หลักเกณฑ์ในการถูกฟ้องล้มละลาย มีดังนี้
1.ลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา มีหนี้สิ้นล้นพ้นตัว
และเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนรวมกัน
ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท
2.ลูกหนี้ที่เป็นนิติบุคคล เป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียว
หรือหลายคนรวมกันไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท
- หลักเกณฑ์การถูกปลดจากล้มละลาย มีดังนี้
1.ปลดล้มละลายโดยคำสั่งศาล
2.ปลดล้มละลายโดยผลของกฎหมาย คือ บุคคลธรรมดา
ที่ถูกศาลพิพากษาว่าล้มละลายว่าล้มละลายมาแล้ว
พ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปี
เว้นแต่
1.บุคคลนั้นเคยถูกศาลพิพากษาว่าล้มละลายมาก่อน
และยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลา 5 ปี นับแต่ศาลได้พิพากษาครั้งก่อน
ให้ขยายระยะเวลาเป็น 5 ปี
2.บุคคลนั้นเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต ให้ขยายระยะเวลาเป็น 10 ปี
3.บุคคลนั้นเป็นบุคคลล้มละลาย เนื่องจากการกระทำผิด
อันมีลักษณะเป็นการกุู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
ให้ขยายระยะเวลาล้มละลายเป็น 10 ปี
หรือ เพราะเหตุการหยุดนับระยะเวลา
ซึ่งเกิดจากลูกหนี้ไม่ให้ความร่วมมือต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ในการจัดการทรัพย์สินโดยไม่มีเหตุอันควร
โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะยื่นคำร้องต่อศาล
ขอให้หยุดนับระยะเวลาได้ ซึ่งศาลจะมีคำสั่งให้หยุดนับระยะเวลาได้
แต่ไม่เกิน 2 ปี รวมเป็นระยะเวลาในการล้มละลายกรณีนี้ 5 ปี
จึงจะปลดล้มละลายโดยผลของกฎหมาย
กรณีนิติบุคคล จะมีกระบวนการของการฟื้นฟูกิจการเข้ามาช่วย
เพื่อให้ปลดล้มละลายได้เร็วขึ้น
การพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายนั้น ต้องการความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ
จึงได้แยกพิจารณาในศาลล้มละลายโดยเฉพาะ