สาระน่ารู้เกี่ยวกับคดี (Knowledge)
Notarial Services Attorney
หนังสือ สัญญา (Contract)
ทรัพย์สินทางปัญญา (IP)
บัญชีและภาษีอากร (Accounting)
Login Form
วัน & เวลา (Date & Time Zone)
|
คดีทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ คดีที่แยกพิจารณาเป็นทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาได้ดังนี้
คดีแพ่ง
- คดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์
สิทธิบัตรคดีพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ
- คดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือตราสารการเงินระหว่างประเทศ
หรือการให้บริการระหว่างประเทศ การขนส่งระหว่างประเทศ
การประกันภัยและนิติกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง
- คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271-275
ได้แก่ ความผิดเกี่ยวกับการค้าฐานขายของโดยหลอกลวงให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด
คุณภาพ ฯลฯ ของสินค้า ความผิดเกี่ยวกับการใช้รูปรอยประดิษฐ์ของผู้อื่น
ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า จำหน่าย
หรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียน เป็นต้น
- คดีแพ่งเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิต (แอลซี)
- คดีแพ่งเกี่ยวกับการกักเรือ
- คดีแพ่งเกี่ยวกับการทุ่มตลาด และการอุดหนุนสินค้าหรือการให้บริการจากต่างประเทศ
- คดีแพ่งที่เกี่ยวกับข้อพิพาทในการออกแบบวงจรรวม การค้นพบทางวิทยาศาสตร์
ชื่อทางการค้า ฯ
- คดีแพ่งที่เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการเพื่อระงับข้อพิพาท มาตรา 7 (3)-(10)
ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545
- คดีแพ่งที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญา
คดีอาญา
- คดีอาญาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร
- คดีอาญาเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271-275
- คดีอาญาที่เกี่ยวกับข้อพิพาทในการออกแบบวงจรวม การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ชื่อทางการค้า ฯ
- คดีอาญาที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญา
การดำเนินคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญานั้น
จะดำเนินคดีให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม
จึงมีการกำหนดให้มีการพิจารณาคดีติดต่อกันโดยไม่เลื่อนคดี เว้นแต่
มีเหตุจำเป็น นอกจากนี้อธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศกลาง
โดยอนุมัติประธานศาลฎีกา มีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับ
การดำเนินกระบวนพิจารณา และการรับฟังพยานหลักฐานใช้บังคับในศาลได้
จึงทำให้การดำเนินคดีเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัด
อันเป็นลักษณะพิเศษซึ่งแตกต่างจากศาลอื่น